ความรู้เรื่อง UV-C

ทำความรู้จักกับรังสีอัลตราไวโอเล็ต

รังสีอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet Radiation : UV ) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้น ช่วงต่อจากแสงสีม่วง (ระหว่างVisible Spectrum กับ X-ray) เป็นรังสีที่ตาคนมองไม่เห็น และไม่สามารถรับรู้ได้ แบ่งเป็นสามประเภท ดังนี้ 1. UV-A ช่วงความยาวคลื่น 315 nm – 400 nm ส่องเข้ามาในชั้นบรรยากาศมากที่สุดสามารถ ผ่านทะลุกระจกได้ ส่งผลกระทบต่อผิวหนังมนุษย์ โดยทำลายคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ก่อให้เกิดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำ 2. UV-B ช่วงความยาวคลื่น 280 nm – 315 nm ส่องเข้ามาในชั้นบรรยากาศเล็กน้อย ไม่สามารถผ่านทะลุกระจกได้ส่งผลกระทบกับผิวไหม้ แสบร้อน 3. UV-C ช่วงความยาวคลื่น 100 nm – 280 nm แทบจะไม่ทะลุชั้นบรรยากาศเข้ามาเลย เป็นช่วงคลื่นที่มีพลังงานสูงมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่มีประโยชน์ในการใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ดี การใช้รังสี UV ในการกำจัดเชื้อโรค มีการนำรังสี UV มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง แต่การนำรังสี UV มาใช้ในการกำจัดเชื้อโรคจะใช้รังสี UV-C ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ในการทำลายเชื้อโรค ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อรา และ แบคทีเรีย ซึ่งการใช้แสง UV-C ในการกำจัดเชื้อแต่ละชนิดจะใช้เวลาต่างกัน การใช้แสง UV ในการกำจัดเชื้อโรค เรียกว่า UVGI หรือ GUV ซึ่ง UVGI และ GUV อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน UVGI ย่อมาจาก ultra violet germicidal irradiation “การฉายรังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อทำลายเชื้อโรค” ในขณะที่ GUV ย่อมาจาก germicidal ultra violet “การทำลายเชื้อโรค ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต”  

ไขความลับแสง UV ทำไมถึงฆ่าเชื้อได้?

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาหลายๆท่านคงจะเห็นผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับฆ่าเชื้อโรคมากมายหนึ่งในนั้นคือแสงยูวีที่มีขายกันตามท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลับแสงยูวีที่ใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ส่วนตัว หรือเครื่อง อบขวดนมลูกและของเล่นที่มีแสง UV ฆ่าเชื้อด้วย หรือจะเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้แสงยูวี ในการฆ่าเชื้อตามโรงพยาบาล วันนี้เรา จะมาหาคำตอบและเฉลยความลับของแสง UV กัน     ความจริงแล้ว แสงจากดวงอาทิตย์นั้น มีส่วนประกอบของความยาวคลื่นหรือสเปกตรัมของแสงในหลากหลายส่วน ตั้งแต่รังสีแกมมา เอกซเรย์ UV แสงสีรุ้ง อินฟราเรด Microwave และ Radio Wave ทั้งหมดนี้คือคลื่นที่แสงอาทิตย์ ผลิตออกมาส่งตรงมายังโลกของเราแต่สายตาของเราจะมองเห็นเพียงแค่แสงสีรุ้งเท่านั้น อย่างไรก็ตามด้วยความโชคดีที่โลกของเรามีชั้นบรรยากาศและชั้นโอโซนที่สามารถปกป้อง สิ่งมีชีวิตบนโลกให้ ห่างไกลอันตรายจากสามรังสีแรกได้ คือ รังสีแกมมา เอกซเรย์และ UV แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะมีรังสี UV บางส่วนที่สามารถตกลงมาถึงพื้นโลกได้     โดยในกลุ่มของรังสี UV จะแบ่งออกเป็นอีก 3 ชนิดย่อย คือ UV A (315-400 นาโนเมตร), UV B (280-315 นาโนเมตร) และ UV C (200-280 นาโนเมตร) โดยในธรรมชาตินั้นแสง UVA สามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศ ลงมาได้สู่ผิวโลกได้มากถึง 95% UV B สามารถทะลุผ่านบรรยากาศ ลงมาได้สู่ผิวโลกได้เพียง 4 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วน UVC นั้นจะไม่สามารถลงมาสู่ ชั้นพื้นผิวโลกได้เลย เนื่องจากถูกปิดกั้นด้วย ชั้นบรรยากาศและชั้นโอโซน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากมาก หากเราเพียงแค่ยืนตากแดด เพื่อต้องการจะได้รับรังสี UV C เพื่อที่จะฆ่าเชื้อโรค แต่ก่อนที่เราจะได้รับรังสียูวีเพื่อฆ่าเชื้อโรคนั้นเราอาจจะต้องได้รับรังสีอย่างอื่นและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตเสีย ก่อนหรือไม่ก็อาจจะเป็นลมแดดเนื่องจากความร้อนผิวไหม้เนื่องจากได้รับรังสีอินฟราเรดและเป็นมะเร็งผิวหนัง เพราะได้รับรังสี UVA ที่มากเกินไป นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติของ UVA และ UVB นั้นมีความสามารถในการทะลุทะลวงลงไปชั้นใต้ผิวหนังของเรา ได้มากกว่าปกติ ทำให้เซลล์ทุกเซลล์ของเราจะได้รับรังสีอย่างเต็มๆ หากถามว่ายูวีไปฆ่าเชื้อโรคได้อย่างไร…. จริงๆแล้วรังสี

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

การฆ่าเชื้อบนพื้นผิวมีหลายวิธี นอกเหนือจากการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อพ่นหรือเช็ดบนพื้นผิว การใช้รังสีเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถทำลายเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวได้ โดยรังสีที่นำมาใช้สำหรับฆ่าเชื้อคือ รังสียูวีซี (UVC) รังสียูวีซีเป็นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร รังสียูวีซีมีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคหรือเรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation ซึ่งทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น โดยจะทำลายโครงสร้างกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเชื้อโรคที่ความยาวคลื่น 260-265 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่ดีเอ็นเอของดูดซับได้ดีที่สุด ในธรรมชาติจะไม่พบรังสียูวีซีเนื่องจากรังสีชนิดนี้ไม่สามารถผ่านชั้นโอโซนมายังผิวโลกได้ การใช้รังสีชนิดนี้ เพื่อทำลายเชื้อจึงต้องใช้แหล่งกำเนิดรังสี ได้แก่ UVC-LEDs หลอดปรอท เป็นต้น ประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ ประสิทธิภาพของรังสียูวีซีในการทำลายเชื้อขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับ ความเข้มและความยาวคลื่นของรังสี สำหรับการฆ่าเชื้อในอากาศหรือพื้นผิวสามารถประเมินประสิทธิภาพจากปริมาณรังสีหรือ UV dose ซึ่งเป็น ปริมาณรังสีที่เชื้อสัมผัส ถ้าเชื้อจุลินทรีย์ล่องลอยอยู่ในอากาศผลของรังสีจะเทียบเท่าค่า UV dose แต่ถ้า มีฝุ่นละอองล่องลอยในอากาศร่วมด้วย ปริมาณรังสีที่สัมผัสกับเชื้อจุลินทรีย์อาจลดลง จึงต้องใช้ระยะเวลา ในการทำลายเชื้อนานขึ้น UV dose (หน่วยไมโครวัตต์วินาทีต่อตารางเซ็นติเมตร; µWs/cm2) สามารถคำนวนโดยนำค่าความเข้มของ รังสีหรือ UV intensity (หน่วยไมโครวัตต์ต่อตารางเซ็นติเมตร; µW/cm2) คูณด้วยระยะเวลาที่สัมผัสรัง สีหรือexposure time (หน่วยวินาที; seconds) การทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือ SARS-CoV ด้วยรังสียูวีซีที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ระยะห่าง 3 เซนติเมตร ความเข้มแสง 4016 W/cm2 สามารถกำจัดเชื้อได้หมดภายในเวลา 15 นาที หากใช้ความเข้มแสง 90 µW/cm2 ที่ระยะห่าง 80 เซนติเมตร จะต้องใช้เวลา 60 นาที จึงจะทำลายเชื้อได้หมด จะเห็นว่าประสิทธิภาพการทำลายเชื้อขึ้น อยู่กับความเข้มแสงยูวีซี ระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสง และระยะเวลา ดังนั้นการใช้แสงยูวีซีเพื่อทำลายเชื้อ ให้ได้ประสิทธิผลต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวร่วมด้วย   ความปลอดภัยต่อร่างกาย รังสียูวีซีเมื่อสัมผัสกับผิวหนังสามารถทำให้ผิวหนังไหม้และเกิดมะเร็งผิวหนังได้ หากสัมผัสกับ ตาอาจทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ การมองเห็นภาพผิดปกติ หรือทำให้ตาบอดได้

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

การฆ่าเชื้อบนพื้นผิวมีหลายวิธี นอกเหนือจากการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อพ่นหรือเช็ดบนพื้นผิว การใช้รังสีเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถทำลายเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวได้ โดยรังสีที่นำมาใช้สำหรับฆ่าเชื้อคือ รังสียูวีซี (UVC) รังสียูวีซีเป็นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร รังสียูวีซีมีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคหรือเรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation ซึ่งทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น โดยจะทำลายโครงสร้างกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเชื้อโรคที่ความยาวคลื่น 260-265 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่ดีเอ็นเอของดูดซับได้ดีที่สุด ในธรรมชาติจะไม่พบรังสียูวีซีเนื่องจากรังสีชนิดนี้ไม่สามารถผ่านชั้นโอโซนมายังผิวโลกได้ การใช้รังสีชนิดนี้ เพื่อทำลายเชื้อจึงต้องใช้แหล่งกำเนิดรังสี ได้แก่ UVC-LEDs หลอดปรอท เป็นต้น ประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ ประสิทธิภาพของรังสียูวีซีในการทำลายเชื้อขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับ ความเข้มและความยาวคลื่นของรังสี สำหรับการฆ่าเชื้อในอากาศหรือพื้นผิวสามารถประเมินประสิทธิภาพจากปริมาณรังสีหรือ UV dose ซึ่งเป็น ปริมาณรังสีที่เชื้อสัมผัส ถ้าเชื้อจุลินทรีย์ล่องลอยอยู่ในอากาศผลของรังสีจะเทียบเท่าค่า UV dose แต่ถ้า มีฝุ่นละอองล่องลอยในอากาศร่วมด้วย ปริมาณรังสีที่สัมผัสกับเชื้อจุลินทรีย์อาจลดลง จึงต้องใช้ระยะเวลา ในการทำลายเชื้อนานขึ้น UV dose (หน่วยไมโครวัตต์วินาทีต่อตารางเซ็นติเมตร; µWs/cm2) สามารถคำนวนโดยนำค่าความเข้มของ รังสีหรือ UV intensity (หน่วยไมโครวัตต์ต่อตารางเซ็นติเมตร; µW/cm2) คูณด้วยระยะเวลาที่สัมผัสรัง สีหรือexposure time (หน่วยวินาที; seconds) การทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือ SARS-CoV ด้วยรังสียูวีซีที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ระยะห่าง 3 เซนติเมตร ความเข้มแสง 4016 W/cm2 สามารถกำจัดเชื้อได้หมดภายในเวลา 15 นาที หากใช้ความเข้มแสง 90 µW/cm2 ที่ระยะห่าง 80 เซนติเมตร จะต้องใช้เวลา 60 นาที จึงจะทำลายเชื้อได้หมด จะเห็นว่าประสิทธิภาพการทำลายเชื้อขึ้น อยู่กับความเข้มแสงยูวีซี ระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสง และระยะเวลา ดังนั้นการใช้แสงยูวีซีเพื่อทำลายเชื้อ ให้ได้ประสิทธิผลต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวร่วมด้วย   ความปลอดภัยต่อร่างกาย รังสียูวีซีเมื่อสัมผัสกับผิวหนังสามารถทำให้ผิวหนังไหม้และเกิดมะเร็งผิวหนังได้ หากสัมผัสกับ ตาอาจทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ การมองเห็นภาพผิดปกติ หรือทำให้ตาบอดได้